สรุปวิจัย







ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระดุม


ปริญญานิพนธ์

ของ

วรัญญา  ศรีบัว


💥วัตถุประสงค์ของการวิจัย

      จะทำให้ทราบถึงความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระดุมเพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนาความ สามารถด้านมิติสัมพันธ์ตลอดจนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น



💥ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

      - ทำให้ทราบถึงความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ท่ำด้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระดุม
      - เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู ผู้ปกครอง



💥สมมุติฐานการวิจัย

      เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระดุมมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงขึ้น



🌏วิธีดำเนินการวิจัย🌍

💥ประชากร

     ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนตันตรารักษ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต3 จำนวน 90 คน


💥กลุ่มตัวอย่าง

      นักเรียนชาย หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4 – 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนตันตรารักษ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต3 จำนวน 20คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน คือจับสลากเลือกนักเรียนมา 1 ห้องเรียน แล้วจึงจับสลากนักเรียน จากห้องนั้นมากลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน



💥เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

     1.แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้กระดุม
     2.แบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์


🌍การดำเนินการวิจัย🌏

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
     1. การกำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
     2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
     3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
     4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล



💥การวิเคราะห์ข้อมูล

     1.ใช้ค่าสถิติ t-test สำหรับกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกันในการเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระดุม
     2.ใช้สถิติร้อยละอธิบายการเปลี่ยนแปลงความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยในการทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระดุม



💥สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

     1. สถิติพื้นฐาน
     2. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ
     3.สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน


🌍สรุปผลการวิจัย🌏


       1.ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระดุม โดยรวมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อจำแนกรายด้าน พบว่าความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ด้านการจำแนกความเหมือนความต่าง ด้านความสัมพันธ์ของตำแหน่งวัตถุและด้านลักษณะร่วมของวัตถุสิ่งของ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01


       2.เด็กปฐมวัยมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์หลังการทดลองทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระดุม โดยรวมมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 90.00 ของเด็กปฐมวัยทั้งหมด และเมื่อจำแนกรายด้านพบว่า เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงขึ้นในด้านความสัมพันธ์ของตำแหน่งวัตถุ มากเป็นอันดับแรก (ร้อยละ 100.00) รองลงมาคือ ด้านการจำแนกความเหมือนความต่าง (ร้อยละ 85.00) และด้านลักษณะร่วมของวัตถุสิ่งของ (ร้อยละ 80.00) ตามลำดับ



























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น